ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
bulletประวัติชมรมนักกอล์ฟเยาวชนไทยภาคเหนือ
bulletคณะกรรมการบริหาร
bulletระเบียบการชมรมนักกอล์ฟเยาวชนไทยภาคเหนือ
bulletทำเนียบนักกอล์ฟยอดเยี่ยมประจำปี
dot
ผลการแข่งขัน NTJGC
dot
bulletFull Leaderboards 2022-2023
bulletFull Leaderboards 2021-2022
bulletFull Leaderboards 2020-2021
bulletสรุปผลการแข่งขัน 2562-2563
bulletสรุปผลการแข่งขัน 2561-2562
bulletสรุปผลการแข่งขัน 2560-2561
bulletสรุปผลการแข่งขัน 2559-2560
bulletสรุปผลการแข่งขัน 2558-2559
bulletสรุปผลการแข่งขัน 2557-2558
bulletสรุปผลการแข่งขัน 2556-2557
bulletสรุปผลการแข่งขัน 2555-2556
bulletสรุปผลการแข่งขัน 2554-2555
bulletสรุปผลการแข่งขัน 2553-2554
bulletสรุปผลการแข่งขัน 2552-2553
bulletสรุปผลการแข่งขัน 2551-2552
bulletสรุปผลการแข่งขัน 2550-2551
bulletสรุปผลการแข่งขัน 2549-2550
dot
ผลการแข่งขันฤดูกาล 2566-2567
dot
bulletสรุปผลการแข่งขัน ฤดูกาล 2566-2567
dot
รูปภาพจากการแข่งขัน
dot
dot
รูปการแข่งขันฤดูกาล 2566-2567
dot
bulletMatch#1 Summit Green valley ChiangMai
bulletMatch#2 Mae Moh Golf Course
bulletMatch#3 Royal ChiangMai Golf Resort
bulletMatch#4 Alpine Golf Resort ChiangMai
bulletMatch#5 Summit Green Valley ChiangMai
dot
รูปการแข่งขันฤดูกาล 2565-2566
dot
bulletMatch#1 2022-2023 Summit Green Valley
bulletMatch#2 Mae Moh Golf Course
bulletMatch#3 Alpine Golf Resort ChiangMai
bulletMatch#4 2022-2023 Royal ChiangMai Golf Resort
bulletMatch#5 Alpine Golf Resort ChiangMai
dot
รูปการแข่งขันฤดูกาล 2564-2565
dot
bulletMatch#1 2021-2022 Gassan Khuntan
bulletMatch#2 2021-2022 Mae Moh Golf Course
bulletMatch#3 2021-2022 Royal ChiangMai Golf Resort
bulletMatch#4 2021-2022 Alpine Golf Resort ChiangMai
bulletMatch#5 2021-2022 Royal ChiangMai Golf Resort
dot
รูปการแข่งขันฤดูกาล 2563-2564
dot
bulletMatch#1 2020/2021 Royal ChiangMai
bulletMatch#2 2020/2021 Royal ChiangMai
bulletMatch#3 2020/2021 ChiangMai Highlands
dot
รูปการแข่งขันฤดูกาล 2562-2563
dot
bulletMatch#1 2019/2020 Royal ChiangMai
bulletMatch#2 2019/2020 MaeMoh
bulletMatch#3 2019/2020 Green Valley
dot
รูปการแข่งขันฤดูกาล 2561-2562
dot
bulletMatch#1 2018/2019 Royal ChiangMai
bulletMatch#2 2018/2019 MaeMoh
bulletMatch#3 2018/2019 GreenValley
bulletMatch#4 2018/2019 Royal ChiangMai
dot
รูปการแข่งขันฤดูกาล 2560-2561
dot
bulletMatch#1 2017/2018 Royal ChiangMai
bulletMatch#2 2017/2018 Mea Moh
bulletMatch#3 2017/2018 Green Valley
bulletMatch#4 2017/2018 Royal ChiangMai
dot
รูปการแข่งขันฤดูกาล 2559-2560
dot
bulletMatch#1 2016/2017 Inthanon
bulletMatch#2 2016/2017 Lanna
bulletMatch#3 2016/2017 North Hill
bulletMatch#4 2016/2017 Gassan Legacy
dot
รูปการแข่งขันฤดูกาล 2558-2559
dot
bulletMatch#1 2015/2016 Lanna
bulletMatch#2 2015/2016 Lanna
bulletMatch#3 2015/2016 North Hill
bulletMatch#4 2015/2016 Inthanon
bulletMatch#5 2015/2016 Inthanon
bulletMatch#6 2015/2016 North Hill
dot
รูปการแข่งขันฤดูกาล 2557-2558
dot
bulletแม็ทช์ที่ 1. 2557/2558 อินทนนท์
bulletแม็ทช์ที่ 2. 2557/2558 ลานนา
bulletแม็ทช์ที่ 3. 2557/2558 แม่เมาะ
bulletแม็ทช์ที่ 4. 2557/2558 ลานนา
bulletแม็ทช์ที่ 5. 2557/2558 อินทนนท์
bulletแม็ทช์ที่ 6. 2557/2558 อินทนนท์
dot
รูปการแข่งขันฤดูกาล 2556/2557
dot
bulletแม็ทช์ที่ 1. 2556/2557 ลานนา
bulletแม็ทช์ที่ 2. 2556/2557 อินทนนท์
bulletแม็ทช์ที่ 3. 2556/2557 ลานนา
bulletแม็ทช์ที่ 4. 2556/2557 อินทนนท์
bulletแม็ทช์ที่ 5. 2556/2557 อินทนนท์
bulletแม็ทช์ที่ 6. 2556/2557 ลานนา
dot
รูปการแข่งขันฤดูกาล 2555/2556
dot
bulletแม็ทช์ที่ 1. 2555/2556 ลานนา
bulletแม็ทช์ที่ 2. 2555/2556 แมซซาไนน์
bulletแม็ทช์ที่ 3. 2555/2556 ลานนา
bulletแม็ทช์ที่ 4. 2555/2556 อินทนนท์
bulletแม็ทช์ที่ 5. 2555/2556 ลานนา
bulletแม็ทช์ที่ 6. 2555/2556 อินทนนท์
dot
รูปการแข่งขันฤดูกาล 2554/2555
dot
bulletแม็ทช์ที่ 1. 2554/2555 อินทนนท์
bulletแม็ทช์ที่ 2. 2554/2555 กัซซันเลค
bulletแม็ทช์ที่ 3. 2554/2555 อินทนนท์
bulletแม็ทช์ที่ 4. 2554/2555 ลานนา
bulletแม็ทช์ที่ 5. 2554/2555 ลานนา
bulletแม็ทช์ที่ 6. 2554/2555 อินทนนท์
dot
รูปการแข่งขันฤดูกาล 2553/2554
dot
bulletแม็ทช์ที่ 1. 2553/2554 อินทนนท์
bulletแม็ทช์ที่ 2. 2553/2554 ลานนา
bulletแม็ทช์ที่ 3. 2553/2554 กัซซันเลค
bulletแม็ทช์ที่ 4. 2553/2554 กัซซันขุนตาน
bulletแม็ทช์ที่ 5. 2553/2554 อินทนนท์
bulletแม็ทช์ที่ 6. 2553/2554 อินทนนท์
dot
True Visions International Junior Golf
dot
bullet18th TrueVisions International Junior Golf 2019
bullet17th TrueVisions International Junior Golf 2018
bullet16th TrueVisions International Junior Golf 2017
bullet15th TrueVisions International Junior 2016
bullet14th TrueVisions International Junior 2015
bullet13th True Visions International Junior Golf
bullet12th True Visions International Junior Golf
bullet11th True Visions International Junior Golf
bullet10th True Visions International Junior Golf
bullet9th True Visions International Junior Golf
bullet8th True Visions International Junior Golf
dot
โลกของกีฬากอล์ฟ
dot
bulletประวัติกีฬากอล์ฟไทย
bulletคุณสมบัติของนักกอล์ฟที่ประสบความสำเร็จ
bulletการให้เกียรติ์กันในกีฬากอล์ฟ
bulletรูปแบบการซ้อมพัท
dot
NTJGF การแข่งขันต่างประเทศ
dot
dot
AmBank-SportExcel
dot
bullet13th AmฺBank SportExcel 2018
bullet12th AmBank SportExcel 2017
bulletAmBank : Kota Permai G&CC 2013 Malaysia
bulletAmBank : Kelap Rahman Putra 2011 Malaysia
bulletAmBank : Kelap Rahman Putra 2010 Malaysia
bulletAmBank : Kelap Rahman Putra 2007 Malaysia
dot
Albatross , India
dot
bullet7th Albatross International Junior Golf 2015
bullet6th Albatross International Junior Golf 2014
dot
Singapore
dot
bulletSICC 19th 2010 Singapore
bulletSICC 16th 2007 Singapore
bulletOCC Junior Golf Invitation 2006
bulletTanah Merah Singapore 2004
dot
International Junior Golf
dot
bulletKids Golf World Malaysia 2012
dot
Newsletter

dot




16 th Invitational Golf Championship , Singapore 2007

 

 

“16 th Invitational Golf Championship”
Singapore Island Country Club
 
     เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ชมรมฯ ของเราได้พานักกอล์ฟเยาวชนเดินทางไปแข่งกอล์ฟที่สิงคโปร์ ในรายการ “16 th Invitational Golf Championship”  ที่สนาม Singapore Island Country Club  โดยครั้งนี้คณะของเรามีด้วยกัน 8 คน ควบคุมทีมโดย ป้าตู๋กับโปรแจ็ค และนักกอล์ฟเยาวชนอีก 6 คน  ได้แก่
“เช”        ชัย   อินทรโยธิน,
“เท็น”      ฐิติธรรม เกตุอดิเดช  
“ข้าวปั้น”  ฉันทัช เลาหจรัสแสง,
“แต็ป”     ชนะโชค เดชภิรัตนมงคล 
“ป้อย”     มัลลิกา วรรณมะกอก
“เน็ท”     ณัฐนิช   วิจิตรทองเรือง 
 
         สำหรับนักกอล์ฟที่ได้เป็นตัวแทนของชมรมส่งเสริมนักกอล์ฟเยาวชนไทย (ภาคเหนือ) เข้าร่วมกันแข่งขันในครั้งนี้ ทั้ง 6 คน ต้องผ่านการเก็บคะแนนจาก 3 แม็ทช์สุดท้ายของปีการแข่งขัน 2549-50 ของชมรมฯ จึงนับได้ว่าเป็นชั้นหัวกะทิ ในแต่ละคลาสของภาคเหนือของเราเลยทีเดียว
            คณะของเราเริ่มออกเดินทางกันแต่เช้าวันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม 7.30 น. จากเชียงใหม่ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อรอต่อเครื่องบินไปสิงคโปร์ โดยมารวมกันกับคณะของชมรมที่กรุงเทพ     ใช้เวลาบิน 2 ชั่วโมง เราก็มาถึงสิงคโปร์สนามบินChangi   ผ่านการตรวจคนเข้าเมืองเรียบร้อยก็มีคณะกรรมการจัดการแข่งขันทางสิงคโปร์มารับ       โดยมีรถบัสไปส่งที่โรงแรมที่พัก
            เกือบลืมไปว่าในการเดินทางไปแข่งกอล์ฟที่ต่างประเทศกันเป็นหมู่คณะ การแพ็คกระเป๋าเดินทางและถุงกอล์ฟ มีความสำคัญมาก เพราะจำนวนกระเป๋ามีจำนวนมาก และจำกันไม่ค่อยได้ กระเป๋าเดินทางของแต่ละคนก็จะคล้ายๆ กัน ยิ่งไปปนกับของคณะอื่นคนอื่น ยิ่งไปกันใหญ่        เราต้องเตรียมโบว์สีมาผูกไว้ แสดงว่าเป็นกลุ่มของเรา ซึ่งงานนี้ต้องขอบคุณอาก้อยที่เตรียมมาให้พวกเราตั้งแต่ออกจากสนามบินเชียงใหม่      เมื่อมาถึงสิงคโปร์ก็เลยสะดวกไม่ตกหล่น   ทุกกระเป๋ายังอยู่ครบถ้วน
           ถึงสิงคโปร์เวลา 16.00 น. (เวลาท้องถิ่น) ซึ่งจะเร็วกว่าเมืองไทย   1 ชั่วโมง    ก็ต้องตั้งเวลานาฬิกากันใหม่     เพื่อให้เป็นไปตามเวลาของสิงคโปร์ ใช้เวลาจากสนามบิน 20 นาที ก็มาถึงที่โรงแรมเมอร์ริตัส แมนดาริน ซึ่งเป็นที่พักของคณะของเราในสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนถนนออร์ชาร์ด ซึ่งเป็นถนนย่านธุรกิจ และแหล่งช้อปปิ้งที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ ค่าโรงแรมก็เลยค่อนข้างแพง     หนึ่งห้อง เราอยู่กัน 3 คน ต้องใช้บริการเตียงเสริมของทางโรงแรม ค่าที่พัก ต่อคืน คืนละ 100 เหรียญ สิงคโปร์ ( 1 เหรียญสิงค์โปร์ ประมาณ 23 บาท) แต่ก็สะดวกสบาย สามารถหาของกินและเดินเที่ยวได้ง่าย
 
 
          แต่กว่าจะได้เข้าห้องพักก็ต้องรอเช็คอินเกือบชั่วโมง     เพราะเรามากันคณะใหญ่ เกือบ 30 คน หลังจากเข้าห้องพัก    จัดข้าวของเรียบร้อยก็ถึงเวลาสำคัญ...
          มื้อเย็นมื้อแรกของเราที่สิงคโปร์ พวกเรามาฝากท้องที่ food Center แถวๆ หน้าโรงแรมนั่นเอง มีอาหารหลากหลายให้เลือกตามชอบ ทั้งข้าว, ก๋วยเตี๋ยว, อาหารจานด่วนทั้งหลายราคาก็ประมาณ 4-5 เหรียญ สิงคโปร์ต่อจาน จากนั้นก็แยกย้ายกันไปช็อปเพื่อหาของกินตุนไว้กินกันที่ห้องในโรงแรม    เพราะถ้าขืนกินของในตู้เย็นในห้องพักแล้วและก็ กระเป๋าฉีกแน่ เพราะแพงมาก
  ที่โรงแรม คณะจัดการแข่งขันได้จัดบอร์ดสำหรับแจ้งกำหนดการต่างๆ ของการแข่งขันไว้ครบครัน ทั้งกฎการแข่งขัน ตารางเวลาของการฝึกซ้อมและการแข่งขัน ตารางเวลาของรถบัสที่ใช้รับส่งพวกเรา จากโรงแรมไปสนามกอล์ฟ และจากสนามกอล์ฟกลับมาที่โรงแรม ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก สำหรับการไปแข่งขันที่ต่างประเทศ
          เช้าแรกที่สิงคโปร์ ต้องตื่นกันตั้งแต่ตี 5 ครึ่ง อาบน้ำแต่งตัว รถบัสมารับพวกเรา 7.00 น. ซึ่งตรงเวลามาก อันเป็นข้อดีอีกอย่างหนึ่งของประชากรบ้านเมืองนี้
 
 
          วันนี้เป็นวันซ้อมอย่างเป็นทางการ ค่าสนามฟรี ค่าแค็ดดี้ก็ฟรี เพราะต้องแบกหรือลากถุงเองจ้า... ค่าสมัคร 170 เหรียญ สำหรับการแข่งขัน   แต่ทางผู้จัดการแข่งขันก็แจกของให้กับนักกอล์ฟมากมายทั้งกระเป๋า เสื้อ หมวก เป็นที่ถูกอกถูกใจของทุกๆ คน จนบางคนบอกว่าคุ้มมาก (คิดเอาเองก็แล้วกันว่าของที่แจกจะเจ๋งขนาดไหน)
 
 
          ก่อนมาที่  SICC  ก็ได้ข้อมูลว่าสนามนี้ค่อนข้างยาก และเป็นสนามลักษณะภูเขา ฟังดูก็เฉยๆ คิดว่าคงคล้ายๆ สนามแม่เมาะหรือไฮแลนด์ บ้านเรา แต่พอมาเดินเข้าจริงๆ ทั้งสนามแทบจะไม่มีที่ราบให้ตีเลย มีแต่ขึ้นเขาแล้วก็ลงเขา ถ้านึกไม่ออก ลองหลับตา นึกถึงหลุม 9 ที่สนามแม่เมาะหรือหลุม 18 ไฮแลนด์ ของบ้านเรา ใช่เลย.... แต่ขอโทษ...ต้องแบก ถุงเอง มันยอดมากเลย...ใช่ม้า
 
 
          สนาม Singapore Island Conmtry Club เป็นสนามเก่าแก่อายุเกือบ 100 ปี สร้างอยู่บนเนินเขา แฟรเวย์เป็นหญ้ามาเลเซีย ใบใหญ่ กรีนเป็นลักษณะของสนามเก่า คือ สโลบ จะไม่มาก ลาดเอียงตามเนินเขา ต้นไม้ใหญ่ สนามติดกับป่าไม้ธรรมชาติ มีทั้งฝูงลิง ฝูงนก รวมทั้งตัวเงิน ตัวทอง ชุกชุม ตีกอล์ฟกับธรรมชาติกับป่าไม้โดยแท้จริง และด้วยเป็นสนามลักษณะสนามภูเขาทำให้นักกอล์ฟที่มาเล่นต้องใช้ทักษะ ใช้จินตนาการในการเล่น การคิดคำนวณถึงการเผื่อระยะทาง ปีนเขาลงเขา ทิศทางลม เรียกว่าต้องใช้วิทยายุทธ์กันสุดๆ ถึงจะเล่นหรือทำสกอร์ให้ได้ดี กับสนามแห่งนี้
 
 
        ก็เลยถึงบางอ้อว่า...ทำไมผู้จัดการแข่งขันถึงจัดเฉพาะคลาสรุ่นใหญ่ A- B  และต้อง   Handicap ต่ำๆ ด้วย เพราะขืนเอานักกอล์ฟรุ่นเล็กๆ และมือใหม่ๆ มีหวังตายแน่
          แรกเริ่มเดิมทีการแข่งขันของ SICC  มีนักกอล์ฟจาก 2 ประเทศ เท่านั้นคือ สิงคโปร์ (เจ้าภาพ) และมาเลเซีย แต่หลังจากนั้นก็มีนักกอล์ฟจากหลายประเทศมาร่วมการแข่งขันมากขึ้น  สำหรับครั้งนี้มี 10 ประเทศ คือ สิงคโปร์, ออสเตรเลีย, บรูไน, อังกฤษ, ฮ่องกง, อินเดีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ไต้หวัน และไทย รวมนักกอล์ฟที่ร่วมกันการแข่งในครั้งนี้ 135 คน
          สนาม SICC  รวมทั้งทุกสนามในสิงคโปร์ วัดระยะกันเป็นเมตร ซึ่งแตกต่างจากสนามของบ้านเราที่วัดกันเป็นหลา ก็เลยต้องมาแปลงจากเป็นเมตรให้เป็นหลาเสียก่อน เพื่อความคุ้นเคย ดังนั้นจะต้องเตรียมตัวทำระยะเป็นตารางเทียบกันจากเมตรเป็นหลาทุกระยะ ตั้งแต่ 50-200 เมตร เป็นหลา เช่น 100 เมตร = 111 หลา เพราะถ้าไม่เตรียมตัวมาจะทำให้การเล่นของเราล่าช้า และมีข้อผิดพลาดได้ง่ายในเรื่องระยะ รับรองสกอร์พังแน่
 
 
         ข้อแตกต่างอีกอย่างหนึ่งของการแข่งกอล์ฟที่นี่กับบ้านเราคือ ที่สิงคโปร์นักกอล์ฟต้องแบกหรือลากถุงกอล์ฟเอง เพราะที่นี่ค่า Caddy แพงมาก แพงพอๆ กับค่า Green fee   ดังนั้นนักกอล์ฟสิงคโปร์จึงนิยมใช้รถกอล์ฟตีกอล์ฟมากกว่าใช้ Caddy        
      และในระดับเยาวชนก็ลากหรือแบกถุงเอง  ดังนั้นเราก็ควรรู้ว่าการแบกถุงเอง ต้องเตรียมตัวและปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง เช่น ต้องใช้ถุงกอล์ฟที่มีน้ำหนักเบา มีสายสะพานบ่าทั้ง 2 ข้าง เตรียมเฉพาะอุปกรณ์ที่จำเป็นเท่านั้น       ที่สตาร์ทเตอร์จะมีกระบอกใส่ทราย สำหรับกลบรอย Divot ของเรา เตรียมไว้ให้ ทรายที่ใช้กลบ Divot   ที่สนาม SICC จะเป็นสีเขียว เพราะเขาผสมสีและปุ๋ยเข้าไปด้วย เวลาใช้กลบรอย Divot  ในแฟร์เวย์ สนามก็ยังดูสวยงามเขียวสะอาดตา และขอย้ำว่าต้องช่วยกันดูแลสนามให้ดีที่สุด กลบรอย Divot ทุกครั้ง
 
 
          และการเล่นต้องช่วยเหลือกัน ค้นหาลูกบ้าง โดยเฉพาะการดึงธงหรือปักธง คนที่พัตเสร็จเป็นคนแรก ควรจะไปถือธงไว้คอยปักธง เมื่อผู้เล่นคนสุดท้าย พัตลงหลุม    นี่คือมารยาทของการเล่นกอล์ฟเมื่อเราต้องแบกหรือลากถุงเอง
             นี่ก็คือสาเหตุที่ทำไมชมรมฯ ของเราจึงต้องจัดกอล์ฟ บางแม็ทชให้นักกอล์ฟในคลาส A กับ B  ต้องแบกถุงเอง เช่น แม็ทช์ที่กัซซันมาริน่า ที่เพิ่งผ่านมา   ก็เพราะต้องการให้พวกเด็กๆ ของเราได้ฝึกการเล่นโดยต้องแบกหรือลากถุงเอง ว่าจะต้องเจอสถานการณ์อย่างไรบ้าง ทดลองกำลังของตัวเอง รู้ถึงการจัดการต่างๆ จะต้องวางถุงไว้ตรงไหน ถึงจะไม่เสียเวลา หรือเปลืองแรง และต้องให้ความสามารถของตัวเองล้วนๆ ดูระยะเอง อ่านไลน์เอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก และทำให้เราพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง และเตรียมตัวไว้สำหรับการเดินทางไปแข่งขันกอล์ฟยังต่างประเทศ ซึ่งจะต้องแบกหรือลากถุงเองทั้งสิ้น
 
 
          กลับเข้ามาบรรยากาศของการแข่งขัน SICC  ครั้งที่ 16 กันอีกครั้ง หลังจากซ้อมกันในวันแรก ซึ่งส่วนมากเล่นกันไม่จบ 18 หลุม เพราะฝนตก  ตอนเย็นเจ้าภาพผู้จัดการแข่งขัน จัดงานเลี้ยงต้อนรับนักกอล์ฟที่คลับเฮ้าท อาหารที่เลี้ยงหลากหลายมากมาย    เห็นแล้วก็อยากกินเสียทุกอย่าง ก็เลยต้องแกล้งๆ ลืมอิ่มไปชั่วขณะ นานๆ ครั้งคงไม่มีใครว่าเนาะ...... 
              ในงานก็จะมีนักร้องมาขับกล่อม เพลงเพาะๆ มีเกมส์มาให้ผู้ร่วมงานได้เล่นและสนุกกัน ท้ายสุดก็คือการแจกรางวัล โดยการจับฉลากรายชื่อของนักกอล์ฟ    รางวัลที่แจก ล้วนแต่เป็นของมีคุณภาพและรู้สึกว่าราคาแพง แสดงถึงว่าการจัดการแข่งขันทำได้ดี จึงได้รับความสนับสนุนจากสปอน์เซอร์รายใหญ่ๆ อย่างมากมาย นักกอล์ฟของเราก็เลยได้รางวัลติดไม้ติดมือกันไปพอสมควร
 
 
        เริ่มการแข่งขันวันแรก รถบัสมารับที่โรงแรม 6 โมงเช้า ใช้เวลา 20 นาที ก็มาถึงสนาม แล้วก็จัดการกับมื้อเช้าที่ทางผู้จัดไว้ให้ ซึ่งเกี่ยวกับอาหารการกิน   ทางผู้จัดการแข่งขัน จัดให้นักกอล์ฟและผู้ควบคุมทีม กินฟรีตลอดทัวร์นาเม้นท์    เป็นลักษณะบุปเฟ่ท์ ทั้งอาหารเช้าและกลางวัน   สะดวกสบายท้องและเงินในกระเป๋าตังค์
          นักกอล์ฟชายเริ่มแข่ง เวลา 7 โมงเช้า ออกทั้งทางหลุม 1 และหลุม 10 ส่วนนักกอล์ฟหญิงเริ่มแข่งตอนเที่ยง 12.00 น. รถบัสจะไปรับจากโรงแรมตอน 10 โมง เป็นโชคดีของพวกสาวๆ ที่นอนตื่นสายได้
          ตลอดการแข่งขันของวันแรกมีฝนตกหนักบ้างเบาบ้างโดยตลอด      ทำให้ต้องใช้กฎ Winter Rules และยังเพิ่มเข้าอีกว่า หากตีลูกอยู่ในแฟร์เวย์ แล้วหาลูกไม่เจอ เพราะจมลงไปในพื้นดิน แต่มาร์คเกอร์ของเราต้องช่วยยืนยันว่าเห็นลูกของเราตกมาในบริเวณที่ลูกหายไปจริง ก็จะได้ฟรีดร็อป 
          และในที่สุดฝนก็เป็นอุปสรรคเข้าจนได้ ทำให้การแข่งขันของผู้หญิงต้องถูกยกเลิกไป เล่นกันไม่จบเพราะช่วงบ่ายเจอฝนตกหนักมาก   ส่วนฝ่ายชายโชคดีที่ออกแข่งขันตั้งแต่ช่วงเช้าก็เลยจบการแข่งขันได้ทั้งหมด ซึ่งนักกอล์ฟจากภาคเหนือของเราก็ทำสกอร์กันได้ดี
 
         “โจ๋วสั่น” ซึ่งแปลว่าสวัสดีตอนเช้า (ห้ามพูดเพื้ยนเป็นอย่างอื่น…) เจ้าหน้าที่จัดการแข่งขันทักทายกันแต่เช้ามืด วันนี้วันที่สอง ฝนก็ยังตกอยู่ตลอดทำให้การแข่งขันต้องเลื่ยนออกไป 2 ชั่วโมง จนกระทั่งคณะกรรมการตัดสินใจว่าจะต้องทำการ Shotgun Start ทั้งชายและหญิง เวลา 10.00 น. แต่กว่าจะได้ Shot gun  Startจริงๆ ก็ช้าไปอีกเกือบครึ่งชั่วโมง เพราะทางสนามต้องทำการรีดน้ำออกจากกรีนทุกกรีน แต่ก็ยังต้องแข่งขันกันท่ามกลางสายฝน หนักบ้างเบาบ้าง พวกเราที่เคยไปแข่งขันที่เขื่อนสิริกิตต์ตอนชมรมฯเราไปแข่งที่นั่นแบบเดียวกันเลย...ครับ
          คณะผู้จัดการแข่งขัน เตรียมอาหารกล่องไว้แจกนักกอล์ฟ ระหว่างทำการแข่งขัน ซึ่งถือว่าผู้จัดเอาใจใส่และให้ความห่วงใยกับนักกอล์ฟมาก เพราะนักกอล์ฟต้องเล่นกันตลอดโดยที่คาบผ่านเวลาอาหารเที่ยง และก็แจกถึง 2 รอบ รอบที่ 2 นั้นเป็นอาหารว่างซึ่งแพ็คใส่ถุงเป็นอย่างดี โดยใช้เจ้าหน้าที่ขับรถ ตระเวณแจกนักกอล์ฟรวมทั้งผู้ติดตามจนครบทุกคน
 
 
         สำหรับวันที่สามหรือการแข่งขันวันสุดท้ายคณะกรรมการแก้ปัญหาฝนด้วยการทำแพริ่ง 2 รูปแบบ คือ มีทั้ง Shotgun Start และ  Tee Time 
          โดยให้ผู้นำในแต่ละคลาสออกตามเวลา (Tee Time)  ซึ่งมีด้วยกัน 8 กลุ่ม ออกสตาร์ทที่หลุม 1 เริ่มเวลา 8.00 น. ระยะห่างกลุ่มละ 10 นาที ส่วนที่เหลือจะออกแบบ Shotgun Start เวลา 8.00 น. เช่นกัน โดยออกที่หลุม 2 ถึง หลุม 15 ก็ถือว่าเป็นการแก้ปัญหาอีกทางหนึ่ง และก็เป็นโชคดีที่วันสุดท้ายนี้ท้องฟ้าสดใส ฝนไม่ตก ทุกอย่างก็เลยราบรื่น จบการแข่งขันด้วยดี
 
          สำหรับผลการแข่งขัน ทีมไทยชนะเลิศ Over all  ทั้งชายและหญิง ซึ่งมีข้อสังเกตว่ารายการ SICC   มีรางวัลแจกน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนนักอล์ฟที่เข้าร่วมการแข่งขัน คือ จะแจกเฉพาะแชมป์กับรองแชมป์เท่านั้น แต่นักกอล์ฟทุกคนก็มุ่งมั่นที่จะทำผลงานให้ดีที่สุด แม้ว่าตัวเองนั้นแทบจะหมดลุ้นหรือหมดโอกาสที่จะได้รับถ้วยรางวัลนั้นแล้ว ก็ถือเป็นสปิริต ของนักกีฬาที่ดี ต้องขอชมเชยนักกอล์ฟทุกคน ณ ที่นี้ด้วย และดูจากผลการแข่งขันแล้ว แม็ทช์ของ SICC  มีการคัดเฉพาะนักกอล์ฟที่มีแต้มต่อต่ำๆ มาเล่นในรายการนี้ทั้งสิ้น ดังนั้นนักกอล์ฟที่จะมาร่วมการแข่งขันในครั้งๆ ต่อไป  ต้องเตรียมตัว และฝึกซ้อมมาอย่างดีถึงจะประสบความสำเร็จได้
 
          ในปีนี้ นักกอล์ฟชายมีจำนวน 105 คน ผู้ชนะเลิศ ทำสกอร์ 215 (71, 69, 75)   ส่วนนักกอล์ฟชายจาวเหนือของเราก็ทำผลงานได้ดี...........พอควร
ชัย   อินทรโยธิน               ได้อันดับที่ 27   คะแนน 231 (72,81,78)
ฉันทัช   เลาหจรัสแสง        ได้อันดับที่ 30   คะแนน 232 (79,76,77)
ชนะโชค เดชภิรัตนมงคง     ได้อันดับที่ 39   คะแนน 235 (76,75,84)
ฐิติธรรม   เกศอดิศร           ได้อันดับที่ 53   คะแนน 242 (79,78,85)
นักกอล์ฟหญิง มีผู้เข้าร่วมการแข่งขัน 30 คน
          ผู้ชนะเลิศทำสกอร์ 144 (69,75) 
ตัวแทนภาคเหนือของเรา
มัลลิกา วรรณมะกอก          ได้อันดับที่ 9     คะแนน 157     (82,75)
ณัฐนิช วิจิตรทองเหลือง     ได้อันอับที่ 10    คะแนน 157     (77,80)
 
บทสรุปของ SICC  ครั้งที่ 16 ต้องขอชมว่าคณะผู้จัดการแข่งขัน จัดการแข่งขันได้ดีมาก ทั้งด้านของการจัดการ, สภาพสนามที่ดี ท้าทาย, อาหารการกิน เลี้ยงกันตลอดทัวร์นาเม้นท์ ทั้งนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ของแต่ละชาติ รวมทั้งของรางวัลที่นำมาแจกให้กับนักกีฬา ซึ่งของแจกนั้นมากมาย และล้วนเป็นของมีคุณภาพ เชื่อว่านักกอล์ฟที่เคยสัมผัส เคยเข้าร่วมการแข่งขันในรายการ SICC นี้ก็คงอยากจะกลับมาอีกในปีต่อๆ ไป
 
 
                                                                                      โปรแจ๊ค.



ข้อมูลและข่าวสารสมาพันธ์

คณะกรรมการบริหาร article
ระเบียบการชมรมนักกอล์ฟเยาวชนไทยภาคเหนือ article
ประวัติชมรมนักกอล์ฟเยาวชนไทยภาคเหนือ
การให้เกียรติกันในกีฬากอล์ฟ
ทำเนียบนักกอล์ฟยอดเยี่ยมประจำปี
ผลการแข่งขัน
"เพชรเม็ดงาม" ชนะโชค เดชภิรัตนมงคล
กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ภาค5 ครั้งที่ 26 "สระหลวงเกมส์" จ.พิจิตร
Kelap Rahman Putra Malaysia 2007



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.